Be the change that you wish to see in the world.
Mahatma Gandhi
ในฐานะที่เป็นประชากรคนหนึ่งของดาวเคราะห์ดวงนี้
ก็อยากจะเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่สร้าง “แรงกระเพื่อม” ให้สังคมไทย
ใส่ใจ และปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต
ให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม และสร้างสังคมที่ยั่งยืนให้แก่คนรุ่นต่อไป
SOS Sustainability 101 on Podbean and Apple Podcast
-
Featured
I’ll find a way or make one
I am passionate with sustainability in business since I was 20. 15 years later, I still enjoy working in this field. I love to be a small piece of a giant engine that changes the direction of global business towards a more sustainable world. I work full-time as a consultant, provide consulting services and deliver… Read more
-
Episode 261
การค้ามนุษย์กับธุรกิจไทยในปัจจุบัน (4/4) วันนี้เรายังคุยกันเรื่องการค้ามนุษย์หรือแรงงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในธุรกิจ จากการทำงานที่เจอเอง เรื่อง human rights เป็นประเด็นค่อนข้างใหม่ในเชิงธุรกิจ ธุรกิจก็จะถามว่าเกี่ยวอะไรกับฉัน? ตอนสุดท้ายนี้เราจะคุยถึงเรื่องวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งค่อนข้างซับซ้อนมาก เมื่อถามว่าถ้าจะแก้ไขปัญหาเรื่องการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมที่ยังมีอยู่ในหลาย ๆ ประเทศนี้ ใครควรต้องมีบทบาทบ้าง แล้วก็ทำอะไรบ้าง ? คุณ Pan ยอมรับว่าตอบยากมาก จริง ๆ รัฐบาลไทยก็มีการขับเคลื่อนค่อนข้างรวดเร็ว พยายามเปลี่ยนลักษณะการทำงานที่เราทำกันมา 30-40 ปีแล้ว ภายในเวลา 4-5 ปีนี้ ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาสภาวะแรงงานขัดหนี้ รัฐบาลไทยได้ลดค่าใช้จ่ายของ visa work permit ลงเกิน 2 เท่าแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายจากประเทศต้นทางก็ยังมีสูง ดังนั้นต้องมีการปรับกระบวนสรรหาแรงงานจากประเทศพม่า กัมพูชา ลาว เพื่อให้ลดความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายลง รวมทั้งลดความเสี่ยงด้านปัญหาที่คนงานไม่ทราบหรือได้ข้อมูลที่ผิดพลาดว่าเขาจะต้องเข้ามาทำงานอะไรในไทย ซึ่งตรงนี้แม้มีกระบวนการทำงานระหว่างประเทศที่ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว แต่ขั้นตอนค่อนข้างเยอะ ใช้เวลานาน จึงเป็นช่องทางให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่แรงงานอาจพบในขั้นตอนการจ้างงานนี้ สุดท้ายคนต้องรับผิดชอบ ก็คือ นายจ้าง เพราะว่าตามกฎหมายหลาย… Read more
-
Episode 260
การค้ามนุษย์กับธุรกิจไทยในปัจจุบัน (3/4) วันนี้จะมาคุยถึงแรงผลักดันว่าทำไมธุรกิจจะต้องใส่ใจเรื่องการค้ามนุษย์ในห่วงโซ่อุปทานของตัวเอง รวมทั้งเรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจและบทบาทของแต่ละภาคส่วนกันค่ะ ตัวที่ผลักดันเรื่องนี้มาจากตรงไหนกันแน่ ? ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากต่างประเทศ เพราะ ILO (International Labour Organization) ถือว่าเป็นองค์กรระหว่างประเทศ หรือพวก UN ต่าง ๆ มี SMEs บางแห่งทำได้ดีมาก เพราะต้องการส่งออกไปยังตลาดที่ยุโรป ก็ต้องทำตามภาคบังคับของเขา บางครั้งก็มองว่านี่เป็นการกีดกันธุรกิจทางการค้าแบบใหม่ จากประสบการณ์ คุณ Pan ยอมรับว่าเป็นคำถามที่ค่อนข้างตอบยาก ส่วนใหญ่แล้วมาจากอเมริกา ยุโรป ที่มีกฎหมายทางนี้ออกมา แต่ความท้าทายที่เกิดขึ้นตอนนี้ ก็คือผู้ประกอบการในไทยก็มี pressure สูง เพราะรัฐบาลไทยต้องการเร่งขับเคลื่อนในเรื่องนี้ บางธุรกิจก็ไม่มีทรัพยากรพอที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานในระยะเวลาที่เร็วขนาดนั้น ดังนั้น ธุรกิจต้องพร้อมเรื่องเงินทุนและเรื่องกำลังคนจึงจะทำให้ผ่านตามมาตรฐานเหล่านี้ได้ นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการเล็ก ๆ อาจมีปัญหาในการขยายตลาดการส่งออก คุณ Pan ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า แรงผลักดันที่มาจากฝั่งอเมริกากับยุโรป จะมีกฎหมายอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ประเภทแรกเรียกว่า การเปิดเผยข้อมูล ว่าบริษัทได้ take action… Read more
Follow My Blog
Get new content delivered directly to your inbox.