ปลากระเบนราหู กับ Eco-tourism
Ray of light: the true worth of a sea giant
The Guardian Weekly: 5 July 2019
เค้าพูดถึงคุณค่าที่แท้จริงของปลากระเบนราหูในประเทศเปรู
ก่อนอื่น ขออนุญาตแนะนำ เจ้าปลากระเบนราหู ก่อนนะคะ
ปลากระเบนแมนตา Manta ray เป็นปลากระเบนน้ำเค็ม จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 9 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง
ความพิเศษของเจ้ากระเบนราหูก็คือมันชอบว่ายน้ำตัวเดียว รักสันโดษ แต่ก็มีการเข้าสังคมเพื่อหาอาหารและสืบพันธุ์ แต่มันจะออกลูกเพียง 1 ตัว ทุกๆ 5 ปี และมีอายุได้ถึง 40 ปี โดยตัวเมียจะอยู่ในวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 7-10 ปี ที่น่าสนใจที่สุดคือ เจ้ากระเบนชนิดนี้ มีขนาดสมองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาปลาทุกชนิด โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า มันสามารถจดจำตัวเองได้ หากมันเห็นตัวเองในกระจก หรือ ที่เรียกว่า self recognition
ก่อนหน้านี้ เจ้ากระเบนราหูถูกจับมาขายในราคาถูกตามตลาดสด แต่ปัจจุบัน เมืองหนึ่งริมมหาสมุทรแปซิฟิก เริ่มเห็นคุณค่าของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของเจ้ากระเบนยักษ์ใหญ่นี้
บทความเร่ิมที่ชาวประมงเวลาออกทะเล จะคอยมองหาเจ้ากระเบนราหู โดยปัจจุบัน เรือประมงเล่านี้จะบรรจุนักท่องเที่ยว มากกว่าแหจับปลา ปลาที่พวกเค้าเคยจับไปขายเริ่มลดจำนวนลง แต่เป็นปลาที่นักท่องเที่ยวอยากจะเห็น ซึ่งมีราคาที่สูงกว่าในเวลาเป็น ๆ มากกว่าที่ตายแล้ว
มหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณทางเหนือของประเทศเปรูที่เชื่อมต่อกับประเทศเอกัวดอร์ เป็นพื้นที่วิจัยของ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่ชื่อว่า เคริสเทน ฟอสเบิร์ก ที่พยายามจะอนุรักษ์สัตว์หายากชนิดนี้
เจ้ากระเบนราหูเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมยาจีนแผนโบราณ หรือว่ายติดแหหาปลาของชาวประมง จนมันได้รับการขึ้นทะเบียนอยู่ในสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แต่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ Zorritos ของเปรู เจ้ากระเบนราหูได้รับการดูแลปกป้อง
โดยฟอสเบิร์กใช้เวลา 8 ปี ในการให้ความรู้ความเข้าใจกับชาวบ้าน ถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศกับปลากระเบนราหู เช่น การให้นักท่องเที่ยวมาดูปลากระเบนราหูตามธรรมชาติ หรือแม้แต่การว่ายน้ำกับพวกมัน
ส่งผลให้ตอนนี้ เมื่อชาวประมงพบปลากระเบนว่ายมาติดแห พวกเขาจะปล่อยมัน แล้วรายงานให้คนอื่นรู้อย่างมีความสุข
Edgardo Cruz ชาวประมงอายุ 50 ที่เร่ิมหาปลาตั้งแต่อายุ 15 เล่าว่า เค้าเคยจับปลากระเบนราหูที่หนักถึง 1.5 ตันได้ ซึ่งมันหนักมากจนต้องใช้เครนยกมันขึ้นฝั่ง และขายเนื้อของมันในตลาดสด และได้เงินมาเพียง $60
„เมื่อก่อน เวลาที่เราจับมันได้ เราจะเอามีดแทงมัน แล้วนำกลับเข้าฝั่ง แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ตอนนี้มีดเล่มเดียวกันนี้ มีไว้เพื่อตัดแห แล้วปล่อยให้มันว่ายออกไปอย่างอิสระ เพราะพวกมันคืออนาคตของชาวประมง“
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สร้างรายได้ที่สูงกว่าการจับปลาแบบดั้งเดิม
Model การท่องเที่ยวกับปลากระเบนราหู สร้างรายได้มหาศาล งานวิจัยเสนอว่ารายได้ของปลากระเบนราหูที่มีชีวิตอยู่ 40 ปี มีมูลค่า $1M ในขณะที่ปลากระเบนราหูที่ตายแล้วจะสร้างรายได้เพียง $40-500 เท่านั้น
นี่คือความแตกต่างระหว่าง experience through services กับ one-time or single-used product
โดยทีมนักวิจัยชุดนี้ ยังร่วมผลักดันกม.ห้ามจับ ขาย หรือกินมันในเปรู
แต่สิ่งที่นักวิจัยมองว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงคือ การทำให้ปลากระเบนราหูกลายเป็น „Culture and identity“ ของหมู่บ้าน Zorritos
ทางทีมทำงานร่วมกับ UNESCO ในการให้ความรู้เรื่อง sustainable development ในรร 50 แห่ง โดยมีเป้าหมายให้เด็ก ๆ รักและภูมิใจในปลากระเบนราหู และที่เหนือไปกว่านั้น คือความภาคภูมิใจต่อระบบนิเวศทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ของตน ด้วยการสอนพวกเค้าในห้องเรียน แล้วให้เด็ก ๆ เป็นกระบอกเสียงที่จะไปสอนพ่อแม่ของตน
แต่ปลากระเบนราหูเหล่านี้ ก็เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจาก microplastic ที่หลุดลอดลงทะเล ซึ่งเป็นสิ่งที่เหล่านักวิจัยกำลังเฝ้าระวังถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
การท่องเที่ยวก็ควรจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยการรักษาทรัพยากรทางทะเลที่มีค่าของเรา สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรามีการ
วันนี้เรามองเห็น „คุณค่า“ ที่แท้จริงของสิ่งที่อยู่รอบตัวเรารึยังคะ?