โลกร้อนกับการบริโภคเนื้อสัตว์
Warum die Fleischsteuer ein Kuhhandel wäre?
Bento: 7 Aug 19
ข่าวจากฝั่งเยอรมนี วันนี้พูดถึงเรื่องการบริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศเยอรมนีค่ะ โดยนักการเมืองจากพรรค SPD and Grün ออกมาให้ความเห็นว่าภาษีของเนื้อสัตว์ควรจะต้องสูงขึ้นและควรผูกกับคุณภาพชีวิตของสัตว์เหล่านั้นด้วย โดยควรขึ้นภาษีจากปกติ 7% เป็น 19% นั่นหมายถึง เนื้อหมู จะมีราคา €5.55 แทนที่จะเป็น €4.99 โดยภาครัฐคาดหวังว่า ผลกระทบจากภาษีจะส่งผลต่อ climate change และคุณภาพชีวิตของปศุสัตว์ เช่น การสร้างคอกสัตว์ที่ดีกว่าเดิม
มาดูผลของการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีผลต่อสภาวะโลกร้อนกันบ้าง
จากสถิติของ Bundesumweltamt ในปี 2017 ภาคการเกษตรของเยอรมนีปล่อย Carbon สูงถึง 66.3m ตัน โดยหมู วัว ไก่ ก่อให้เกิด emission ทั้งในช่วงชีวิตของตนเอง ในการผลิตอาหารสัตว์ และในการขนส่งปศุสัตว์เหล่านี้ ไปทั่วประเทศ
จากข้อมูลของ Frankfurter Rundschau ชาวเยอรมันบริโภคเนื้อสัตว์โดยเฉลี่ย 60 กก.ต่อปี หากการบริโภคน้อยลง ก็ต้องมีมาตรการในการทำราคาของเนื้อให้สูงขึ้น
แต่การขึ้นภาษี ไม่ได้แก้ปัญหากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ที่มีอยู่ โดยข้อมูลจาก Thünen-Institut พบว่าการบริโภคเนื้อมีแนวโน้มลดลง แต่กำลังการผลิตกลับเพิ่มสูงขึ้น เช่น การบริโภคเนื้อหมูในปี 1997-2017 ลดลงจาก 55 auf 49,7 กก.ต่อคน แต่จำนวนเนื้อหมูที่ถูกแล่กลับเพิ่มจาก 3,6m auf 5,6m ตัน
ซึ่งเนื้อที่ส่งออกจากเยอรมนี กลไกของภาษีไม่สามารถควบคุมได้
คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ทำไมรัฐบาลถึงไม่ทำมาตรฐานหรือตราประทับ ที่รับรองคุณภาพชีวิตของปศุสัตว์ให้แก่ผู้ผลิต? เหมือนกับที่ทำ Biosiegel ที่เป็นมาตรฐานด้าน organic ของสินค้าอุปโภคบริโภค โดยข้อมูลของ Agrarministerium ได้กล่าวถึงมาตรฐานในการขนส่งปศุสัตว์ ดังนี้
- หมูกับม้า สามารถอยู่ในการขนส่งในยุโรปได้ยาวนาน 24 ชม. ก่อนที่จะต้องหยุดพัก 1 ชม.
- วัว แกะ และแพะ อยู่ระหว่างการเดินทางได้ 14 ชม. แล้วต้องแวะพัก
ซึ่งหากภาครัฐต้องการผลักดันคุณภาพชีวิตของปศุสัตว์อย่างจริงจัง นั่นหมายถึง ภาคการผลิตต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต เช่น เพิ่มขนาดของคอกสัตว์ อันจะส่งผลให้ เนื้อสัตว์ กลายเป็นสินค้าหรูหรา ราคาแพง โดยไม่ต้องมีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยซ้ำ ดังนั้น การแก้ปัญหาเรื่อง climate change กับการดูแลคุณภาพชีวิตของสัตว์ จะต้องหาจุดสมดุล
วันนี้ เราบริโภคเนื้อสัตว์มากน้อยเพียงใดคะ?