ฤา Fairtrade จะถึงกาลอวสาน? (1/2)
The end of Fair Trade
The Guardian Weekly: 2 August 2019
เล่าถึงสถานการณ์ของตรา Fair Trade ในยุโรป โดยเมื่อก่อนกล้วยก็คือผลไม้สีเหลืองที่มีรูปร่างโค้ง ๆ และสิ่งที่คุณรับรู้ในปี 1986 ก็คือ มันมีราคา $1.2 ต่อกิโล คุณจะได้รับข้อมูลว่ามันเป็นกล้วย organic ไม่มีสารฆ่าแมลงหรือไม่? คุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมาจาก Costa Rica หรือ Dominican Republic และคุณก็จะไม่ได้รับเชิญให้รับรู้หรือกังวลเกี่ยวกับชาวสวนที่ปลูกมัน หรือลูก ๆ ของพวกเขาได้ไปโรงเรียนหรือไม่ หรือหมู่บ้านของพวกเค้ามีสถานพยาบาลรึเปล่า สิ่งที่เราทำคือการหยิบกล้วยออกจากชั้นแล้วเดินไปช่องอื่น เพื่อซื้อกาแฟ ชา หรือ chocolate
ในปี 1970 ชาวไร่ที่ปลูกเมล็ดโกโก้ ได้รับเงินน้อยกว่า $0.10 จากทุก ๆ $1 ที่ขายได้ในท้องตลาด การใช้แรงงานเด็กเป็นเรื่องปกติ บริษัท chocolate ก็รวยขึ้นเรื่อย ๆ ผู้บริโภคก็นิยมซื้อ chololate มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ชาวไร่ก็ยังคงจนเหมือนเดิม
ช่วงปลายยุค 1980 ก็มีความตื่นตัวถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดร้านเล็ก ๆ แบบ little do-good shop กระจัดกระจายอยู่ทั่วหัวเมืองในยุโรป โดยขายสินค้าที่ซื้อมาด้วยราคายุติธรรมจากผู้ผลิตรายย่อยในต่างประเทศ
Fairtrade International ก่อตั้งในปี 1997 โดยมีความเชื่อว่าผู้บริโภคสามารถทำให้ตลาดมีศีลธรรมมากขึ้น คือ ถ้าบริษัทจ่ายเงินชาวไร่อย่างเป็นธรรม จะส่งผลให้เกิดผลกระทบเชิงบวกตามมา เช่น ชาวไร่สามารถมีเงินจ้างงานผู้ใหญ่มาทำงานมากกว่าจ้างเด็ก ๆ มีเงินส่งลูกไปโรงเรียน และมีเงินซื้อยาและปุ๋ย โดยผู้ผลิตก็ต้องผ่านมาตรฐานของ Fairtrade เช่น เงื่อนไขการจ้างงาน หรือการกำจัดของเสีย
กล่าวโดยสรุป โครงสร้างของ Fairtrade มีรากฐานจาก “สามเหลี่ยมแห่งความดีงาม” ที่จะเริ่มสรรหาชาวไร่มาเป็นสมาชิก และปรับการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานของ Fairtrade โดยองค์กรจะมีการตรวจสอบที่หน้างานเป็นประจำ
มุมที่สอง คือการหา “ผู้ซื้อ” เพื่อรับซื้อผลิตผลจากชาวไร่ที่เป็นสมาชิกในราคาขั้นต่ำสุดตามกำหนด
มุมที่สาม คือ “ผู้บริโภค” ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะมีจริยธรรมในการซื้อสินค้า โดยเลือกที่จะซื้อสินค้าที่มีตรา Fairtrade ถึงแม้จะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นก็ตามที
แต่ในปัจจุบัน สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไป บรรษัทอาหารขนาดใหญ่ เริ่มที่จะกำหนดมาตรฐานของตนเอง และเลิกใช้ Fairtrade สำหรับสินค้าของตนเอง
ประชากรโลก เพิ่มจาก 4.4bn in 1980 to more than 7bn by 2011 แต่สัดส่วนของชาวไร่ชาวนากลับลดลง 12%
ทั่วโลก ค่าเฉลี่ยอายุของชาวไร่กาแฟคือ 55 ปี และคนรุ่นใหม่ ๆ ก็ไม่อยากที่จะเข้ามาทำอาชีพนี้ เนื่องจากหลาย ๆ ปัจจัย และสภาพการณ์ก็มีแต่จะแย่ลงเรื่อย ๆ
แต่มรสุมใหญ่สุดของ Fairtrade มาจาก Sainsbury’s ซึ่งเคยประกาศว่าเป็นร้านค้าปลีกที่มีสินค้า Fairtrade วางขายเยอะที่สุดในโลก โดยในปี 2017 ได้ประกาศว่า ชาที่เป็นของเค้า จะไม่ได้รับการรับรองจาก Fairtrade อีกต่อไป โดยจะเริ่มทำ ethical label ของตัวเอง ชื่อว่า Fairly Traded โดยการตัดสินใจนี้ ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตเกือบ 250,000 ราย
โดยหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐและ NGOs ได้ออกมาเรียกร้องให้ Sainsbury’s ทบทวนการตัดสินใจครั้งนี้ โดยทางบริษัทไม่ได้มีการให้ความเห็นต่อเรื่องดังกล่าว
สิ่งที่น่ากลัวคือ การหย่า โดยสมบูรณ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย เพราะในปัจจุบัน Sainsbury’s ยังคงวางขาย กาแฟ น้ำตาล ดอกไม้ และ กล้วย 650m อันต่อปีของ Fairtrade อยู่ ซึ่งหากการหย่าโดยสมบูรณ์เกิดขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อ Fairtrade
นอกจาก Sainsbury’s แล้ว บริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ ก็เริ่มสร้างมาตรฐานของตัวเองขึ้นมา
- Mondelēz ที่เป็นเจ้าของ Cadbury and Toblerone ก็มี Cocoa Life
- Nestlé ก็มี Cocoa Plan
- Starbucks ก็มี CAFE Practices
- McDonald’s มี McCafé Sustainability Improvement Platform
โดยเหตุผลที่บริษัทเหล่านี้ ดาหน้ากันออกมาตรฐานของตัวเองนั้น อาจสืบเนื่องมาจากการที่พวกเขาคิดว่า เค้าทำเรื่องความยั่งยืนได้ดีกว่าเป็นการภายใน หรือพวกเขาเห็นโอกาสในการออกแบบมาตรฐานที่ตอบโจทย์จุดประสงค์ของตนเอง โดยแต่ละองค์กรกำหนดมาตรฐานของตนเอง และมีตราประทับที่แตกต่างกันไป ส่งผลให้ปัจจุบันมีตราที่ระบุคุณสมบัติด้าน Fairtrade อยู่บนชั้นวางสินค้ากว่า 460 ชนิด โดย ⅓ เกิดขึ้นในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา
นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า “บริษัทเหล่านี้ คาดว่า ผู้บริโภคเบื่อหน่ายกับการเรียนรู้ความแตกต่างของตราประทับที่มีอยู่มากมายในท้องตลาด และคิดว่า การอ้างถึงความยั่งยืนในการผลิตใด ๆ ก็ตาม ดีกว่าการไม่อ้างถึงคุณสมบัตินี้ในสินค้าเลย”
แต่ความเห็นที่น่าอดสูมากกว่านี้ คือการที่บริษัทต่าง ๆ เริ่มเห็นว่า การมีอยู่ของ third-party certifier ไม่สามารถยกระดับชีวิตของชาวนาได้จริง หรือกระทั่งติดอาวุธพวกเขาในการต่อสู้ทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และฐานะทางการเงิน
สิ่งที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คือ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ โลกร้อนขึ้น และสภาพที่ย่ำแย่ของชาวนา โดยสิ่งเหล่านี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อวัตถุดิบที่จำเป็นใน supply chain ของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต chocolate กาแฟ หรือเสื้อยืดผ้าฝ้าย พวกเขาจึงตัดสินใจที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีของตนเอง ในการปกป้องแหล่งผลิตวัตถุดิบที่สำคัญของสินค้าของตน
To be continued …