ฤา Fairtrade จะถึงกาลอวสาน? (2/2)
The end of Fair Trade
The Guardian Weekly: 2 August 2019
เมื่อ EP ที่แล้วเราได้คุยกันไปถึงการเปลี่ยนแปลงและทดลองวิธีใหม่ของธุรกิจยักษ์ใหญ่ วันนี้ เรามาดูวิธีการทำงานของ Fairtrade กันบ้าง
การเคลื่อนไหวของ Fairtrade เริ่มตั้งแต่ปี 1988 ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็นที่แพร่หลายในประเทศอื่น ๆ เช่น สหราชอาณาจักร ในปี 1992 และในปี 1997 ก็ก่อตัวเป็นเครือข่าย Fairtrade International ที่สำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี
93% ของผู้บริโภคชาวอังกฤษระบุว่ารู้จัก ตรา Fairtrade
มูลค่าของสินค้า Fairtrade ที่ขายได้ในปี 2017 คือ $9bn โดยมาจากผู้ผลิต 1.66m คน
มาดูกันว่า ราคา “ยุติธรรม” ที่เค้านำเสนอนั้นมา ราคาที่กำหนดกลางเดือนกรกฎาคม
โกโก้ 1 ตัน = $2,000 (60,888THB)
กล้วย 18.14 กก. จาก Cameroon = €6.40 ($7.15) (12THB/kg)
มะพร้าวสด 1,000 ลูก จาก Windward Island (Central America) = $112 (3THB/piece)
ถึงแม้ว่า ยอดขายของสินค้า Fairtrade ทั้งหมดอาจจะสูงถึง $9bn แต่มูลค่าตลาดทั่วโลกของกาแฟเพียงอย่างเดียวก็สูงถึง $200bn แล้ว นั่นก็คือ Fairtrade มีส่วนแบ่งตลาดน้อยมาก เมื่อมองภาพรวม
แต่ที่ดราม่ามากกว่านี้ คือการที่ Fairtrade ไม่สามารถรับซื้อสินค้าทั้งหมดของผู้ผลิตที่เป็นสมาชิก Fairtrade ได้ ในปี 2016 ผลผลิตกาแฟที่ได้รับการ certified ขายได้เพียง 34% ส่วนที่เหลือที่ขายไม่ได้ ก็ต้องนำไปขายในตลาดที่ “ไม่ยุติธรรม” อยู่ดี โกโก้ ขายได้ 47% แต่สำหรับใบชานั้น ขายได้เพียง 4.7% เท่านั้น กล่าวได้ว่ามีสินค้า Fairtrade จำนวนมากมายที่ไม่สามารถหา ผู้ซื้อที่ “fair-minded” ได้
The Guardian ก็ได้ไปสัมภาษณ์ CEO ของ Fairtrade – Dario Soto Abril โดยเค้าก็ให้ความเห็นว่าต้องรักษาสัมพันธภาพกับ Sainsbury’s ให้ดี เพราะในปัจจุบันสินค้าของ Fairtrade ยังคงวางขายอยู่ที่ร้านค้าปลีก และ Mondelēz ก็ยังใช้ทักษะของ Fairtrade ในการ track สินค้าของเค้าใน supply chain แต่ในขณะเดียวกัน เค้าก็ยังเชื่อว่า model ของ Fairtrade เป็นสิ่งที่ดี ถ้าทุกฝ่าย fully commit ในการร่วมมือกัน
Soto ยังเชื่อมั่นว่า Fairtrade ยังเป็น certifier ที่น่าเชื่อถือ แต่ไม่สามารถแก้ทุกปัญหาได้ โดยองค์กรควรจะพิจารณาปรับเปลี่ยนบทบาทของตนในฐานะ “ที่ปรึกษา” มากขึ้น มากกว่าที่จะเป็น “กรรมการ” ที่คอยบังคับบริษัทเพียงอย่างเดียว
สิ่งที่สังคมควรตั้งคำถามต่อไป ก็คือ
- How will companies behave if they have to testify only to their own code of ethical sourcing?
- In what shape will that leave the future of agriculture?
บริษัทยักษ์ใหญ่ที่กล่าวไปใน EP ที่แล้ว มีการลงทุนอย่างมหาศาล เพื่อการ certify สินค้าของตนเอง
- Starbucks $100m into CAFE Practices since 2014
- Mondelēz $400m on Cocoa Life
แต่ถึงแม้จะมีเงินจำนวนมหาศาลถูกอัดฉีดเข้าไปในภาคสินค้าเกษตร แต่คุณภาพชีวิตของเกษตร ก็ไม่ได้ดีขึ้นนัก โดยเป็นการสนทนาระหว่าง The Guardian with Starbucks and Mondelēz
เนื่องจากแต่ละองค์กรก็ระบุมาตรฐานของตนเอง ซึ่งยากแก่การเทียบเคียง และผู้ร่างมาตรฐานเหล่านี้ คือคนขององค์กร ซึ่งก็จะออกแบบมาตรฐานที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจมากกว่าสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างจากมาตรฐานของ Fairtrade ที่ร่างโดยตัวแทนจากเกษตรกร ดังนั้น มาตรฐานขององค์กรจึงมีแนวโน้มที่จะเป็น greenwashing มากกว่า Hans Hoogervorst จาก International Accounting Standards Board (IASB) คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศกล่าว
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ Volkswagen and Boeing ที่เราไม่ต้องมองหาหลักฐานยืนยันเลยว่า จะต้องมีการโกงข้อสอบ เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราให้พวกเขาตรวจการบ้านเอง
บริษัทส่วนใหญ่มองว่า Fairtrade ไม่ยืดหยุ่นต่อธุรกิจ ดังนั้น พวกเขาจึงสร้าง sustainability programme ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า แท้จริงแล้ว คำว่าความยืดหยุ่นนี้ หมายถึง การควบคุม ในพจนานุกรมของบริษัทยักษ์ใหญ่ นั่นก็คือ การควบคุมการตั้งราคาผลผลิต การคัดเลือกเกษตรกร รูปแบบการทำเกษตรกรรม หรือแม้กระทั้ง การดำรงชีวิตของพวกเขา
ความล้มเหลวของภาคการเกษตรทั่วโลก ไม่ได้เกิดจากการขาดการควบคุมจากบริษัทยักษ์ใหญ่ หากแต่มีการควบคุมมากเกินไปต่างหาก
กล่าวโดยสรุป ความพยายามที่จะแก้ปัญหาการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ยังต้องมีการร่วมแรงร่วมใจอีกเยอะ
โดยสินค้าไทยที่ได้รับตรา Fairtrade เท่าที่เห็นในท้องตลาดก็เป็นกาแฟดอยช้าง สหกรณ์ชาวไร่สับปะรดสามร้อยยอด และ Grace Bio ข้าวหอมมะลิ ข้าวนิล และข้าวกล้อง ที่ปลูกด้วยวิธีพื้นบ้าน
วันนี้ เราตัดสินใจซื้อสินค้า โดยคำนึงถึงปัจจัยอื่น
นอกเหนือจากราคาบ้างรึเปล่าคะ?