SOS around the globe
Global report
The Guardian Weekly
พาดหัวข่าวด้านความยั่งยืนรอบโลกประจำเดือนสิงหาคม
PERU
Unesco เตือนเปรูถึงภาระผูกพัน หากรัฐบาลจะก่อสร้างสนามบินเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่ใกล้กับมรดกโลก คือ มาชู ปิกชู ที่ได้รับเงินสนับสนุนให้ดูแลรักษามรดกโลกและโบราณสถาน เพราะการก่อสร้างสนามบินในบริเวณที่ใกล้กับพื้นที่อ่อนไหวเช่นนี้ ต้องมีการผลกระทบทั้งต่อมรดกโลกที่ประเมินค่าไม่ได้นี้ รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่ต้องมีการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้าน
INDIA
World Animal Protection (WAP) นักสิทธิสัตว์ออกมาต่อต้านการให้นักท่องเที่ยวขี่หลังช้างที่ Amber Fort แหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของอินเดีย เพราะเป็นการทรมานสัตว์ และสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวมาขี่จักรยานแทน ช้างประมาณ 100 เชือก ต้องแบกน้ำหนักของนักท่องเที่ยวเดินขึ้นเขาเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร โดยน้ำหนักที่ช้างแต่เชือกต้องแบกประกอบด้วยน้ำหนักของนักท่องเที่ยว 2 คน ควาญช้าง และตั่งที่นั่งบนหลังช้างสำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งหมด รวม ๆ กันก็ประมาณ 300 กก. ได้ ซึ่งเมื่อก่อนนี้ ช้างต้องแบกนักท่องเที่ยวถึง 4 คน ก่อนที่จะเริ่มมีการจำกัดจำนวนเหลือเพียง 2 คนบนหลังช้าง
UNITED KINGDOM
Goldsmiths, University of London ประกาศเลิกขายเนื้อวัวในโรงอาหาร เพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะลดการใช้ single-use plastic และติดแผงโซลาร์เซลล์ อันเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมาย carbon neutral ภายในปี 2025 นอกจากนี้ Prof. Frances Corner ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง Goldsmiths’s wardenในเดือนนี้ ก็กำลังหาวิธีที่จะให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับ climate crisis ได้
ARCTIC
ฟ้าผ่าในบริเวณ Arctic ส่งผลให้เกิดไฟป่า ที่ควันไฟสามารถมองเห็นได้จากอวกาศ ใน Greenland Siberia และ Alaska โดยเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Arctic ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีการบันทึกไฟป่ามากกว่า 100 จุดในบริเวณดังกล่าว ที่กลุ่มควันสามารถ มองเห็นได้จากอวกาศ เช่นกัน โดยกรณีที่รุนแรงที่สุดคือ ไฟป่าที่เกิดจากฟ้าผ่า ในบริเวณ Irkutsk Krasnoyarsk และ Buryatia ที่ลมหอบกลุ่มควันจากไฟป่าเข้าสู่ตัวเมือง Nowosibirsk เมืองที่ใหญ่ที่สุดของ Siberia ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพอากาศของเมืองนั้น
GREENLAND
จากการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของชาวกรีนแลนด์ พบว่า 90% ของผู้ถูกสัมภาษณ์ยอมรับว่า climate crisis กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ และ 76% ยอมรับว่ามีประสบการณ์ตรงกับอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นในชีวิตประจำวัน การเดินทางที่อันตรายขึ้นในทะเลที่น้ำแข็งละลาย ไปจนถึง การทำการุณยฆาตกับสุนัขลากเลื่อนด้วยเหตุผลทางธุรกิจ (ต้นทุนในการเลี้ยงดูสุนัข) อันเป็นผลสืบเนื่องจากฤดูหนาวที่สั้นลง ท้ายที่สุด ภาวะอุณหภูมิที่ผันผวนในแถบขั้วโลก เริ่มส่งต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของชาวบ้านแถบนี้ ซึ่งเริ่มแสดงอาการของโรคซึมเศร้า หรือไปพัฒนาไปเป็น PTSD ซึ่งเป็นสภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก อันเกิดจาก climate change
SOUTH AFRICA
คนงานเหมืองทองชนะการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างเป็นจำนวนเงินสูงถึง $342m โดยเงินชดเชยก้อนใหญ่นี้ สืบเนื่องมาจากการที่คนงานเหมืองต้องสูดดมฝุ่นผงซิลิกาที่มีที่มาจากหินที่ใช้ในการสกัดทอง ก่อให้เกิดโรคปอดฝุ่นหินทราย (silicosis) คือ โรคชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการสูดหายใจเอาฝุ่นละอองเล็ก ๆ ของผลึกซิลิก้าหรือซิลิกอนไดออกไซด์หรือฝุ่นหินทรายอื่น ๆ เข้าไปในปอด แล้วทำให้เกิดเป็นเนื้อเยื่อพังผืดเป็นจุดเล็ก ๆ ในปอดทั้ง 2 ข้าง ทำให้มีอาการหายใจหอบเหนื่อย โดยศาลแห่งกรุง Johannesburg ประกาศคำตัดสินสิ้นสุดการต่อสู้และต่อรองเป็นระยะเวลายาวนานนับปี
EUROPE
European Investment Bank ประกาศยุติให้การสนับสนุนทางการเงินต่อโครงการน้ำมันจากฟอสซิลภายในปี 2020 เพื่อทำตามกลยุทธ์ทางธุรกิจ ตามเป้าหมายที่ต้องการต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน โดยทาง Guardian ได้อ่านร่างแผนการดำเนินงานของ EIB อันประกอบด้วยวิธีการในการลดการสนับสนุนโครงการพลังงานที่มีพื้นฐานจากน้ำมัน ก๊าซ หรือถ่านหิน
GLOBAL
World Resources Institute (WRI) รายงานว่า 1/4 ของประชากรโลกใน 17 ประเทศอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการแก่งแย่งทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะส่งผลให้เกิด day zeroes เหมือนกรุง Cape Town ในประเทศ South Africa ที่เกือบจะไม่มีน้ำใช้ในปี 2018 โดย Qatar, Isarael Lebanon อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเผชิญสภาวะขาดแคลนน้ำ